บทที่ 1

บทที่ 1

บทนำ

 

 ความเป็นมาและความสำคัญ

ชอล์กที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นจากปูนพลาสเตอร์ น้ำ สีสังเคาะห์ ซึ่งปูนพลาสเตอร์ มีส่วนประกอบของแคลเซียม (Ca) และหินปูน (CaCO3) ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบและโรคภูมิแพ้ (กำจัด รามกุล, 2551: ออนไลน์) สีสังเคราะห์มีส่วนประกอบของสารหนู และโครเมียม ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย และถ้าสะสมอยู่ในร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ (ไมตรี สุทธจิตต์, 2545: ออนไลน์)

สาเหตุที่คณะผู้จัดทำเลือกผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า เพราะแป้งข้าวเจ้ามาจากธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งยังช่วยลดภูมิแพ้และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังทั้งเด็กและผู้ใหญ่ (ดาริกา วสุนธรากุล, 2556: ออนไลน์) นอกจากนี้แป้งข้าวเจ้ามีคุณสมบัติจับตัวได้ดีสามารถนำมาทำเป็นชอล์กได้ สามารถหาซื้อง่ายและราคาถูก ส่วนสีที่ใช้ผสมนั้นเราเลือกใช้สี Tempera มีความอ่อนโยนที่เหมาะกับเด็ก ไม่มีสารเคมี ทำให้ไม่ระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ (เฉลิมวงศ์ จันทร์ปราณี, 2554: ออนไลน์) ซึ่งปกติสีที่ใช้ในการผลิตชอล์กมีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง (มนตรี สุทธจิตต์, 2545: ออนไลน์)

ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงเลือกผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า เพื่อลดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังที่มาจากฝุ่นของชอล์กขึ้นมา

วัตถุประสงค์

ในการศึกษา เรื่อง การผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนด

วัตถุประสงค์ไว้ 2 ข้อดังนี้คือ

1.  เพื่อผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

2.  เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์สาหรับบุคคลทั่วไป

สมมติฐาน

ถ้าแป้งข้าวเจ้าสามารถทาชอล์กไร้ฝุ่นที่ใช้ได้จริง ไม่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

ขอบเขต

ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าไว้ดังนี้

1.  ตัวแปร ได้แก่

1.1   ตัวแปรต้น ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า น้ำเปล่า และสี

1.2   ตัวแปรตาม ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

1.3   ตัวแปรควบคุม ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ปริมาณของตัวแปรต้น ระยะเวลาและอุณหภูมิในการทดลอง

2.  วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ ได้แก่

2.1  วัสดุ หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ทดลองในการศึกษาค้นคว้าที่ใช้แล้วหมดไปสิ้นไป หรือ สิ้นเปลือง ได้แก่

2.1.1  แป้งข้าวเจ้า

2.1.2  น้ำ

2.1.3  สี Tempera

2.2 อุปกรณ์เครื่องมือ หมายถึง สิ่งของที่นามาใช้ทาการทดลองในการศึกษาค้นคว้าแล้วยังคงสภาพเดิม (ไม่หมดหรือสิ้นเปลืองไปแต่อย่างใด) ได้แก่

2.2.1  แม่พิมพ์

2.2.2  ถ้วย

2.2.3  ช้อน

วิธีการ

ในการศึกษา ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาตามลำดับขั้นตอนดังนี้

1.  กำหนดหัวข้อเรื่อง ปัญหา ตั้งสมมติฐานอย่างมีเหตุผล

2.  จัดทำเค้าโครง / โครงร่างในการศึกษาค้นคว้า

3.  ศึกษาค้นคว้าและสรุปสร้างอองค์ความรู้

4.  ออกแบบ เตรียมการ และดาเนินการทดลอง

5.  วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง

6.  สรุป อภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้า

7.  จัดทำรายงานการค้นคว้าอิสระ

นิยามศัพท์เฉพาะ

ชอล์กไร้ฝุ่น หมายถึง ชอล์กที่ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า ที่ใช้แล้วไม่เกิดฝุ่น

แป้งข้าวเจ้า หมายถึง แป้งที่ผลิตจากข้าวเจ้า ตรา New Grade 200

น้ำ หมายถึง น้ำประปาที่สะอาด

สี Tempera หมายถึง สีโปสเตอร์ชนิดฝุ่น ตรา Lefranc&Bourgeois

แม่พิมพ์ หมายถึง วัสดุที่นำมาเป็นแบบสาหรับหล่อขึ้นรูปชอล์กให้เป็นแท่ง โดยนำหลอดชานมไข่มุกมาใช้เป็นแบบ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ในการศึกษาเรื่อง การผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า ครั้งนี้

1.  ทำให้ได้ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

2.  ทำให้ทราบวิธีการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

3.  ทำให้ได้แนวทางในการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์สำหรับบุคคลทั่วไป

บทที่ 2

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษา เรื่อง การผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.  ชอล์กไร้ฝุ่น

2.  แป้งข้าวเจ้า

3.  รายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

ชอล์กไร้ฝุ่น

ชอล์กไร้ฝุ่น (anti-dust chalk) มาจาก2คำรวมกัน คือคำว่า “ชอล์ก” (chalk) กับคำว่า

“ไร้ฝุ่น” (anti-dust) เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับ “ชอล์กไร้ฝุ่น” ผู้ศึกษาจึงขอเสนอความรู้จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชอล์กไร้ฝุ่น ในประเด็นต่างๆ

1.  ความหมายของชอล์ก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546: 349)ได้ให้ความหมายของชอล์กว่า เครื่องเขียนกระดานดําชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทําจาก แคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า, ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป เรียกว่า ชอล์ก

ธนาชัย  ธีรพัฒนวงศ์ (2551: 488 )ได้ให้ความหมายของชอล์กว่า ชอล์ก (Chalk) หินปูนที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เนื้อละเอียด เป็นผงง่าย มีสีขาวจนถึงสีเทา ประกอบด้วยเปลือกของสิ่งมีชีวิตทางทะเล ชนิดที่บริสุทธิ์มากที่สุดประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปของแร่แควไซต์มากถึงร้อยละ 99 โดยแหล่งทับทมขนาดใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก ตอนใต้ของสวีเดนและในอังกฤษที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีคือหน้าผาหินชอล์กแห่งโดเวอร์ตามแนวฝั่วช่องแคบอังกฤษ แหล่งทับถมอื่นๆ อยู่ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่รัฐเซาท์ดาโคตาจนถึงรัฐเทกซัส และทางตะวันออกจนถึงรัฐแอละแบมา หินชอล์กใช้ทำปูนขาวและปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ และเป็นสารเติมดิน หินชอล์กที่บดละเอียดและบริสุทธิ์รู้จักในนามดินสอพอง ใช้อุดเนื้อไม้ ปรับสีหมึก หรือใช้เป็นรงควัตถุในวัสดุหลายๆชนิดรวมทั้งเซรามิก สีโป๊หรือปูนน้ำมัน เครื่องสำอาง ดินสอสี พลาสติก ยาง กระดาษ สีทา และพรมน้ำมัน

กาญจนา  นาคสกุล (2542: ออนไลน์) ได้ให้ความหมายของชอล์กว่า ชอล์ก (ช้อก) หมายถึง หินแร่ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยในทะเล, มีแคลเซียมคาร์บอเนตผสมอยู่มาก. หินชอล์กผุกร่อนได้ง่ายจึงมักทำให้ภูเขาที่มีหินชอล์ก เกิดหินงอก หินย้อย กลายเป็นสิ่งที่งดงามตามธรรมชาติ. คำว่า ชอล์ก มาจากคำภาษาอังกฤษว่า chalk. ชอล์ก เป็นคำเรียกวัสดุสีขาวที่ใช้เขียนกระดานดำด้วย. ชอล์กเขียนกระดานทำจากแคลเซียมซัลเฟตซึ่งได้จากเกลือจืด หรือยิปซัม ผสมน้ำ. ชอล์ก คำนี้ก็มาจากคำภาษาอังกฤษว่า chalk เช่นเดียวกัน.

พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2531 (2531: 164-165) ได้ให้ความหมายของชอล์กว่า ชอล์กคือชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอนเนตมีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อย เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการรวมตัวของหินปูนจากซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยในทะเล

สรุป ความหมายของชอล์ก (chalk) คือหินแร่ชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยแคลเซียมซัลเฟตและแคลเซียมคาร์บอนเนตมีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อย ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า ที่มีสีอื่นๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป

2.  ลักษณะของชอล์ก

ชานน  ผู้ไพบูลย์พงศ์ (2555: ออนไลน์) กล่าวว่า ชอล์ค  เป็นฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี  แต่มีเนื้อ ละเอียดกว่า  แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก  มักใช้ในการวาดภาพเหมือน

จงดี  กากแก้ว (2548: ออนไลน์) กล่าวว่าแท่งชอล์ก ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับกระดานดำ มีสีขาวตามความนิยมเพราะตัดกับสีดำมากที่สุด ปัจจุบันมีการพัฒนาเติมสีเพื่อการเขียนให้มีสีสัต่างๆ โดยชอล์กนั้นไม่ได้ทำมาจากหินชอล์ก แต่ทำมาจากยิปซัมและแป้งเพื่อทำให้สามารถติดอยู่บนพื้นกระดานได้

บรรจบ ศรีภา (2555: ออนไลน์) กล่าวว่า เครื่องเขียนกระดานดําชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทําจากแคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป

วิรุณ  ตั้งเจริญ (2535: 86) กล่าวว่า ชอล์กมีลักษณะเป็นผงฝุ่นนำมาอัดเป็นแท่งไว้สำหรับขีดเขียน มีเนื้อหยาบ ชอล์กที่ใช้สำหรับเขียนกระดานดำส่วนมากจะมีสีขาว ส่วนชอล์กที่มีสีอื่นๆเรียกว่า ชอล์กสี ซึ่งจะมีเนื้อละเอียดกว่าชอล์กที่ใช้เขียนกระดาน

สรุป ลักษณะของชอล์กคือเป็นผงฝุ่นนำมาอัดเป็นแท่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับกระดานดำส่วนมากจะมีสีขาว

3.  ประโยชน์ของชอล์ก

พิมพ์ฤทัย  ชูแสงศรี (2555: 76-77) กล่าวถึงประโยชน์ของชอล์กไว้ดังนี้

1.  ขจัดกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า เพื่อป้องกันกลิ่นอับและความชื้นที่อาจทำให้เสื้อผ้าขึ้นรา ให้ใส่ชอล์กหนึ่งมัดเอาไว้ในตู้เสื้อผ้าเพื่อช่วยดูดกลิ่นอับชื้นออกไป

2.  ขจัดคราบบนเสื้อผ้า หากมีคราบเลอะบนเสื้อผ้า ลองใช้ชอล์กขีดลงบนคราบแล้วทิ้งไว้ 10 นาทีเพื่อดูดซับรอยเปื้อนออกไป จากนั้นปัดฝุ่นออกจากเสื้อผ้า ก่อนนำไปลงเครื่องซักตามปกติ

3.  รักษาเครื่องเงินให้เงาวาว ความชื้นในตู้เก็บเครื่องเงินอาจทำให้เครื่องเงินหมองได้ เช่นเดียวกับตู้เสื้อผ้า ใส่ชอล์กไว้ในตู้เก็บเครื่องเงินเพื่อดูดความชื้น

4.  ทำความสะอาดเครื่องดีบุก นำผงชอล์กผสมกับวอดก้าให้เป็นเนื้อครีม แล้วขัดบนเครื่องใช้ดีบุก จากนั้นล้างน้ำแล้วขัดอีกครั้ง

5.  มาร์กตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ เวลาแต่งบ้านหรือจัดบ้านใหม่ให้ใช้ชอล์กขีดเขียนตำแหน่งที่จะวางเฟอร์นิเจอร์ไว้บนพื้น แล้วสามารถทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายในภายหลัง

6.  กล่องเครื่องมือช่างปลอดสนิม ใส่ชอล์กลงไปในกล่องอุปกรณ์ซ่อมของใช้เพื่อช่วยดูดความชื้นและป้องกันสนิม

7.  สกัดกองทัพมดได้ด้วยการขีดกั้น อาณาเขตตามจุดต่างๆ ด้วยชอล์กที่มดไม่ชอบเดินข้าม

8.  ป้องกันไขควงไม่ให้ลื่นหลุดมือ บางครั้งไขควงก็อาจจะลื่นหลุดจากมือในระหว่างขันน็อตได้ ลองถูมือด้วยผงชอล์กก่อนจับด้ามไขควงจะช่วยไม่ให้ไขควงลื่นหลุดมือ

จงดี  กากแก้ว (2548: ออนไลน์) ได้กล่าวไว้ว่าของดีของชอล์กนั้น คือ

1.  ใช้ได้ทุกเวลาและโอกาส ใช้ได้กับทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน ตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน ใช้ประกอบการอธิบาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นที่แสดงผลงานของนักเรียน ใช้เป็น

จุดรวมความสนใจของนักเรียน ใช้เขียนคำสั่งมอบหมายงาน เฉลยการบ้าน ใช้เสนอหลักการ ข้อเท็จจริง ความคิด กระบวนการ จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อนเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์

2.  สามารถเขียนและลบได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะเขียนทิ้งไว้นานก็สามารถลบได้ง่าย

3.  ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้พร้อมกันทั้งชั้น

4.  เสนอเรื่องราวหรือเนื้อหาได้ทันทีทันใด

5.  ใช้ได้คงทนถาวร เสียหายได้ยาก

6.  ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน

7.  ประหยัดค่าใช้จ่าย

8.  ช่วยทำให้ประสบการณ์นามธรรมให้เป็นรูปธรรม

9.  ใช้สำหรับเขียนภาพประกอบการอธิบาย และใช้เป็นที่แสดงสัญลักษณ์

10. ไม่เปลืองไฟฟ้า

เทพ  เชียงทอง (2545: 143) กล่าวว่า ชอล์กเขียนกระดานดำนั้นช่วยดูแลเครื่องใช้ในบ้านได้ ขจัดกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า โดยให้ใส่ชอล์กหนึ่งมัดเอาไว้ในตู้เสื้อผ้าเพื่อช่วยดูดกลิ่นอับชื้นออกไป และสามารถขจัดคราบบนเสื้อผ้า โดยการใช้ชอล์กขีดลงบนคราบแล้วทิ้งไว้ 10 นาทีเพื่อดูดซับรอยเปื้อนออกไป จากนั้นปัดฝุ่นออกจากเสื้อผ้า ก่อนนำไปลงเครื่องซักตามปกติ  รักษาเครื่องเงินให้เงาวาว ให้ใส่ชอล์กไว้ในตู้เก็บเครื่องเงินเพื่อดูดความชื้น ทำความสะอาดเครื่องดีบุก โดยนำผงชอล์กผสมกับวอดก้าให้เป็นเนื้อครีม แล้วขัดบนเครื่องใช้ดีบุก จากนั้นล้างน้ำแล้วขัดอีกครั้ง มาร์กตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ กล่องเครื่องมือช่างปลอดสนิม ไล่มด และแก้ปัญหาไขควงไม่ลื่นหลุดมือโดยก่อนใช้ไขควงให้ถูมือด้วยผงชอล์กก่อน จะสามารถแก้ป้ญญามือลื่นได้

สุชาติ  เถาทอง (2532: 169-170) กล่าวว่า ชอล์กมีไว้สำหรับขีดเขียน ใช้ในการเรียน

การสอน ตามโรงเรียนในต่างจังหวัดจะมีการใช้ชอล์กเขียนกระดานกันอย่างแผ่หลาย เนื่องจากชอล์กมีราคาถูกกว่าอุปกรณ์เขียนกระดานชนิดอื่นๆ และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป [509-42]

สรุป ประโยชน์ของชอล์กคือใช้สำหรับเขียนภาพประกอบการอธิบาย และใช้เป็นที่แสดงสัญลักษณ์ ใช้เขียนกระดาน มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์เขียนกระดานชนิดอื่นๆ และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป

4.  ส่วนประกอบของชอล์ก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546: 349) กล่าวว่า ชอล์กทําจาก แคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป

ชาติ  ประชาชื่น (2551: 24) กล่าวว่า ชอล์ค (Chalk) คือหินปูนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เกิดจากเปลือกหอยในทะเลทับถมกันนานๆ

เพชรอาภรณ์  พูนพิน (2552: ออนไลน์) กล่าวว่า ชอล์กเขียนกระดานดำ ทำจากแร่ยิปซัม หรือเกลือจืด ซึ่งเป็นแคลเซียมซัลเฟตที่ใช้ทำปูนปลาสเตอร์ นำมาอัดเป็นแท่ง เกลือจืดเป็น

ผลึกสารแคลเซียมซัลเฟต ที่เหลืออยู่ในนาเกลือหลังจากที่ตักเกลือออกไปจนหมดแล้ว เกลือจืดจะเกาะตัวกันเป็นแผ่นแข็งอยู่ติดกับดิน เมื่อจะทำนาเกลือใหม่จะต้องขุดเอาเกลือจืดออกเสียก่อน เพื่อปรับสภาพดินแล้วปล่อยน้ำทะเลเข้าไปใหม่  เกลือจืดเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำแป้งนวล ทำชอล์ก ทำปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

อัศนีย์  ชูอรุณ (2530: 56) กล่าวว่า ชอล์กที่ใช้เขียนกระดานมีส่วนผสมของปูนปลาสเตอร์ซึ่งทำมาจากยิปซัม (Gypsum) ประกอบด้วย แคลเซียมซัลเฟตไดไฮเดรต (CaSO4+2H2O) และเนื่องจากมีความแข็งน้อยมาก จึงสามารถใช้ขีดเขียนได้

สรุป ส่วนประกอบของชอล์กส่วนมากจะผสมด้วยปูนปลาสเตอร์ แคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้าและผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป

5.  ประวัติของชอล์ก

ศัพยา ชัยยุทธ์ (2553: ออนไลน์) ตามหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเราใช้ ชอล์ก (chalk) กันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีภายในถ้ำตามที่ต่างๆ ทั่วโลกล้วนแต่บ่งบอกได้เป็นอย่างดี ชอล์กเริ่มเดินทางเข้ามาเมืองไทยในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณ 70 ปีที่แล้วโดยคนญี่ปุ่น แล้วเราต้องสั่งซื้อชอล์กจากญี่ปุ่นเข้ามาใช้ด้วย

นิด ชัยวงศ์ (2553: 54) กล่าวว่า สีชอล์ค เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อ ละเอียดกว่า แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน การสร้างงานด้วยสีชอล์คน้ำมัน มักจะมีการระบายทับซ้อน ประมาณ 2 – 3 ชั้น เพื่อให้เกิดการผสมผสานสีใหม่ หรือการไล่โทนสีอย่างกลมกลืน

ทวีเดช  จิ๋วบาง (2536: 131) กล่าวว่า ชอล์กเริ่มมีใช้ในห้องเรียนนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่การศึกษาเริ่มแพร่หลาย ตอนนั้นขนาดของห้องเรียนขยายใหญ่ขึ้นแสดงถึงจำนวนนักเรียนที่เพิ่มสูงขึ้น และคุณครูต้องการที่จะสื่อสารข้อมูลผ่านไปยังนักเรียนจำนวนมากในคราวเดียวกัน จึงมีการผลิตชอล์กและกระดานดำ (Black Board) ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน

ดินหิน รักพงษ์อโศก (2549: ออนไลน์) กล่าวว่า ชอล์กมีประวัติยาวนานมากว่า 500 ปีแล้ว แต่เดิมจะเป็นผงชอล์กต่อมาอีก 300 กว่าปีให้หลังมานี้จึงมีการผสมกาวที่ทำจากยางไม้ให้จับเป็นแท่ง ในยุคแรกๆ จะนิยมเขียนเพียง 3 สีคือ สีดำ สีแดง และ สีขาว

สรุป ประวัติของชอล์กประวัติยาวนานมากว่า 500 ปี หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาเมืองไทยในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และในยุคแรกๆ จะนิยมเขียนเพียง 3 สีคือ สีดำ สีแดง และสีขาว

6.  ขั้นตอนการผลิตชอล์ก

ธนวัตร ชัยชนะ (2555: ออนไลน์) กล่าวว่า การผลิตชอล์กมีส่วนประกอบได้แก่ สารช่วยยึดเกาะ ดินขาว ตัวเติม และน้ำ มีการปรับปรุงคุณสมบัติในการนำมาใช้เขียนและแหล่งวัตถุดิบที่ โดยใช้ CM-cellulose เป็นสารช่วยยึดเกาะ และวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมพอร์ซเลน ใช้ตัวเติมคือซิลิคอนและอลูมิเนียมออกไซด์ อัตราส่วนคือวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมพอร์ซเลน 50-58% ดินขาว 17.5-28.75% CM-cellulose 0.25-0.5% และน้ำ 21-24% โดยน้ำหนัก

ชาติ ประชาชื่น (2551: 24) กล่าวว่าชอล์กเขียนกระดานดำ ทำจากแร่ยิปซัม หรือเกลือจืด ซึ่งเป็นแคลเซียมซัลเฟตที่ใช้ทำปูนปลาสเตอร์ นำมาอัดเป็นแท่งเกลือจืดเป็นผลึกสารแคลเซียมซัลเฟต ที่เหลืออยู่ในนาเกลือหลังจากที่ตักเกลือออกไปจนหมดแล้ว เกลือจืดจะเกาะตัวกันเป็นแผ่นแข็งอยู่ติดกับดิน เมื่อจะทำนาเกลือใหม่จะต้องขุดเอาเกลือจืดออกเสียก่อน เพื่อปรับสภาพดินแล้วปล่อยน้ำทะเลเข้าไปใหม่เกลือจืดเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำแป้งนวล ทำชอล์กทำปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น การทำเกลือจืดนั้น ต้องนำเกลือจืดที่ได้มาแช่น้ำทิ้ง ไว้ประมาณ 8-10 วัน เพื่อให้เกลือที่ติดอยู่ละลายน้ำหมดไป ปล่อยน้ำทิ้งแล้วนำเกลือจืดมาคั่วบนกระทะใช้ไฟปานกลางนาน ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ต้องคอยคนอยู่ตลอดเวลา ถ้าคั่วนานเกินไปจะใช้ไม่ได้การสังเกตว่าได้ที่หรือยัง ใช้วิธีตักก้อนเกลือจืดที่คั่ว แล้วมาทุบดู ถ้าแตกเป็นผงละเอียดมีสีขาว แล้วละลายน้ำเป็นเนื้อละเอียดก็ใช้ได้ เมื่อคั่วได้ที่แล้วจะมีสีขาว กลายเป็นปูนปลาสเตอร์ ถ้านำมาอัดแท่งโดยการผสมน้ำเล็กน้อยแล้วตากแดดก็จะกลายเป็นชอล์กส่วนวิธีการอัดแท่งมีผู้แนะนำว่าให้ใช้หลอดฉีดยาอันเล็กๆ ที่ตัดหัวทิ้งแล้วอัดเนื้อชอล์กให้แน่นๆ จากนั้นค่อยดันออกมาจะได้แท่งชอล์ก

เพชรอาภรณ์  พูนพิน (2552: ออนไลน์) กล่าวว่า การเตรียมอุปกรณ์ในการผลิตชอล์กสามารถทำได้โดยใช้ถุงแกงขนาดประมาณ 5×7 นิ้ว ตัดก้นถุงออก ตัดกระดาษนิตยสารกะให้ขนาดใกล้เคียงกับถุง แล้วสอดเข้าไปในถุง กระดาษจะช่วยให้ถุงพลาสติกเรียบแข็งเป็นทรงและม้วนง่าย ม้วนให้เป็นทรงตามแกนทิชชู่ ใช้สก๊อตเทปยึดติด ใช้พลาสติกถนอมอาหาร รองที่ก้นของแกนทิชชู่ มัดทับด้วยหนังยาง จากนั้นตักปูนพลาสเตอร์ประมาณ 3/4 ถ้วย ใส่ในถ้วยผสมที่เตรียมไว้ เทน้ำประมาณ 1 1/2 ถ้วยลงไป แล้วคนเบาๆ ด้วยความรวดเร็ว หากคนช้าปูนจะแข็งเทไม่ออก ผสมจนเป็นเนื้อเดียวกันและให้ได้ความข้นประมาณซอสมะเขือเทศ หากเหลวไปให้เติมปูนพลาสเตอร์  จากนั้นบีบสี Tempera ลงไป คนให้เข้ากันแล้วเทลงแม่พิมพ์ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง2-3 ชั่วโมง

ชำนาญ  ทองเกียรติกุล (2555: 76) กล่าวว่า วิธีการผลิตชอล์กสามารถทำได้โดย นำปูนปลาสเตอร์ผสมกับดินสอพองคลุกเคล้าให้ทั่ว อย่างละเท่าๆกัน เติมน้ำเล็กน้อยและคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้ จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาหยอดใส่แม่พิมพ์ไปก่อนเล็กน้อย และรอจนแห้งเพื่อจะได้เป็นฐาน เมื่อแห้งดีแล้วเทส่วนผสมเข้าไปเติมใหม่ ความยาวแล้วแต่ชอบ หากมีฟองอากาศระหว่างนั้นให้ใช้ตะเกียบอัดให้แน่น นำไปตากแดดจนส่วนผสมแข็งเป็นแท่ง จะได้ชอล์กที่นำมาใช้ขีดเขียนได้

สรุป ขั้นตอนการผลิตชอล์กมีหลากหลายแบบดังนี้

1.  ชอล์กเขียนกระดานดำ ทำจากแร่ยิปซัม หรือเกลือจืด ซึ่งเป็นแคลเซียมซัลเฟตที่ใช้ทำ

ปูนปลาสเตอร์ นำมาอัดเป็นแท่ง

2.  นำปูนปลาสเตอร์ผสมกับดินสอพองคลุกเคล้า จากนั้นบีบสี Tempera ลงไปคนให้

เข้ากันแล้วเทลงแม่พิมพ์นำไปตากแดดจนส่วนผสมแข็งเป็นแท่ง จะได้ชอล์กที่นำมาใช้ขีดเขียนได้

7.  อันตรายของชอล์ก

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ (2540: 48-49) ถึงแม้ฝุ่นละอองทุกชนิดแม้ไม่ได้เป็นสารก่อภูมิแพ้ แต่ถ้ามีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจได้ จึงจัดเป็นสารระคาย ซึ่งแม้คนที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ หากหายใจเอาสารระคายเหล่านี้เข้าไปมากพอก็จะทำให้เกิดอาการ เช่น คัน จาม หรือไอได้

กำจัด รามกุล (2551: ออนไลน์) กล่าวว่า สำหรับการใช้ชอล์กเขียนกระดานในประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาเรื่องฝุ่นจากผงชอล์กโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงไม่ทราบขนาดของฝุ่นดังกล่าวอย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าคงมีขนาดใหญ่กว่า 0.5 – 5 ไมครอน ซึ่งช่วงขนาดดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยร่างกายไม่สามารถกรองหรือขับออกได้ แม้ว่าผงชอล์กมีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่เป็นอันตรายกับสุขภาพ แต่เนื่องจากผงชอล์กมีส่วนประกอบจากแคลเซียมและหินปูนการสูดดมในระยะยาวจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคืองหลอดลมอักเสบ

พรชัย  สังเวียนวงศ์ (2551: 28) กล่าวว่า ฝุ่นชอล์กมีส่วนประกอบของโปรตีน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดโรคภูมิแพ้ ถึงแม้ว่าฝุ่นชอล์กจะไม่ได้ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้โดยตรง แต่ถ้าหากสะสมในร่างกายปริมาณมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว เช่น เป็นโรคแพ้อากาศ (จมูกอักเสบจากภูมิแพ้) หรือหอบหืด การได้รับสารระคายเหล่านี้จะทำให้มีอาการเกิดขึ้นคล้ายกับที่ได้รับสารภูมิแพ้เข้าไปหรือถ้ามีอาการอยู่แล้วก็จะเป็นมากขึ้น

ฉวีวรรณ  บุนนาค (2540: ออนไลน์) กล่าวว่า ชอล์กเขียนกระดานที่ใช้กันในปัจจุบันมีอันตราย โดยเฉพาะฝุ่นของชอล์ก ซึ่งในฝุ่นชอล์ก เป็นสารเคมีที่มีโมเลกุลเล็ก และไม่มีส่วนประกอบของโปรตีน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของสารก่อภูมิแพ้ และจากการที่เคยทดสอบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ กับน้ำยาสกัดจากฝุ่นชอล์ก พบว่า ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาใดๆ ดังนั้นฝุ่นชอล์กจึงไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้โดยตรง แต่ฝุ่นละอองทุกชนิดแม้ไม่ได้เป็นสารก่อภูมิแพ้ แต่ถ้ามีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจได้ จึงจัดเป็นสารระคาย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง

สรุป อันตรายของชอล์กคือส่วนมากเกิดจากฝุ่นของชอล์ก ซึ่งในฝุ่นชอล์กเป็นสารเคมีที่มีโมเลกุลเล็ก และไม่มีส่วนประกอบของโปรตีน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของสารก่อภูมิแพ้ แต่ถ้ามีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจได้ และซึ่งแม้คนที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ หากหายใจเอาสารระคายเห่านี้เข้าไปมากพอก็จะทำให้เกิดอาการ เช่น คัน จาม หรือไอได้

 

แป้งข้าวเจ้า

1.  ความหมายของแป้งข้าวเจ้า

สิริกัญญา บุญช่วย (2539: 12) แป้งข้าวเจ้า หรือ แป้งญวน เป็นแป้งที่ทำมาจากข้าว เป็นแป้งที่ใช้มากที่สุดในการทำขนมไทย ในสมัยก่อนใช้แป้งสดที่โม่จากข้าวสารแช่น้ำค้างคืน นำแป้งที่ได้จากการโม่มาทับน้ำออก ก็จะได้แป้งที่พร้อมนำไปทำขนม ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน

นิธิยา รัตนาปนนท์ (2555: ออนไลน์) กล่าวว่า แป้งข้าวเจ้า (Rice Flour) ได้มาจากข้าวสารที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี่เอง ใช้ในการทำขนมไทยเยอะมา ว่าจะเป็นขนมเบื้อง ถ้วยฟู ขนมกล้วย ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเนี่ยจะแอบมีความวาวอยู่ ผิวของขนมจะมันวาวนิดๆ ซึ่งนั่นเป็นคุณสมบัติพิเศษของแป้งข้าวเจ้า

สมเกียรติ  ฐิตะฐาน (2536: 96-97) กล่าวว่าแป้งข้าวเจ้า หรือ แป้งญวน เป็นแป้งที่ทำมาจากข้าว เป็นแป้งที่ใช้มากที่สุดในการทำขนมไทย ในสมัยก่อนใช้แป้งสดที่โม่จากข้าวสารแช่น้ำค้างคืน นำแป้งที่ได้จากการโม่มาทับน้ำออก ก็จะได้แป้งที่พร้อมนำไปทำขนม ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน เนื้อแป้งข้าวเจ้ามีลักษณะสากมือ เป็นผงหยาบกว่าแป้งสาลี

แป้งข้าวเจ้า หมายถึง แป้งที่ได้จากข้าวเจ้าขาว ซึ่งข้าวเจ้าขาวหมายถึง ข้าวที่เป็นเมล็ดเต็มต้นข้าว ข้าวหักใหญ่ ข้าวหักหรือปลายข้าว ที่ได้จากการสีข้าวเปลือกเจ้าของพืชที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ออไรซา ซาไตวา แอล (Oryza sativa L.) (กล้าณรงค์  ศรีรอด และเกื้อกูล  ปิยะจอมขวัญ, 2546: 188-203)

สรุป ความหมายของแป้งข้าวเจ้า (Rice Flour) คือ แป้งที่ได้จากข้าวเจ้าขาว หรือ แป้งญวน เป็นแป้งที่ใช้มากที่สุดในการทำขนมไทย

2.  ลักษณะของแป้งข้าวเจ้า

อบเชย  อิ่มสบาย (2545: 5)  กล่าวว่า แป้งข้าวเจ้ามีลักษณะมีสีขาว สากมือ เป็นผงหยาบกว่าแป้งสาลี

สมชาย  เทพาดิเทพพัน (2556: 58-60) กล่าวว่า แป้งข้าวเจ้า (Rice Flour) จะมีสีขาวนวลจับแล้วลื่นมือ มีลักษณะจับแล้วสากมือเล็กน้อย

สิริกัญญา บุญช่วย (2539: 12) กล่าวว่า เนื้อแป้งข้าวเจ้ามีลักษณะสากมือ เป็นผงหยาบกว่าแป้งสาลี

เบญจมาศ  ศิลาย้อย (2538: 11) กล่าวว่า เป็นแป้งที่ทำจากเมล็ดข้าวเจ้า มีลักษณะเป็นผงมีสีขาวป่นละเอียดจับแล้วสากมือเล็กน้อย เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะขุ่นร่วน

สรุป แป้งข้าวเจ้ามีลักษณะมีสีขาวนวล เป็นผงหยาบ จับแล้วสากมือเล็กน้อย

3.  ชนิดของแป้งข้าวเจ้า

ศรีสมร  คงพันธุ์ (2554: ออนไลน์) กล่าวว่า แป้งข้าวเจ้ามี 2 ชนิดคือ แป้งข้าวเจ้าชนิดแห้งและเป็นแป้งป่นละเอียดมาก ขาวสะอาด บรรจุในถุงพลาสติก ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรม อีกชนิดหนึ่งคือชนิดเปียก ชนิดนี้ทำขายวันต่อวัน ถ้าค้างคืนจะเหม็นบูด บด ถ้าแห้งที่ออกมายังหยาบจะโม่หรือบดซ้ำใหม่อีกจนกว่าจะได้แห้งที่ละเอียดกรองด้วยถุงผ้า มัดปากถุงให้แน่นแล้วทับให้สะเด็ดน้ำ จะได้แป้งข้าวเจ้าชนิดเปียก

อบเชย  อิ่มสบาย (2545: 5)  กล่าวว่า แป้งข้าวเจ้ามี 2 ชนิด คือ แป้งข้าวเจ้าสดและแป้งข้าวเจ้าแห้ง แต่ปัจจุบันหาซื้อได้แต่แป้งข้าวเจ้าแห้ง แป้งสดหาซื้อได้ยาก แต่มีวิธีทำโดยนำข้าวสารล้าง แล้วแช่ค้างคืน และนำมาโม่ให้ละเอียด ทับน้ำออกแล้วจะได้แป้งสด

ศรีสมร  คงพันธุ์ (2554: ออนไลน์) กล่าวว่า ปัจจุบันแป้งข้าวเจ้าที่ขายกันตามท้องตลาดมี 2 ชนิดคือ แป้งข้าวเจ้าชนิดแห้งและเป็นแป้งป่นละเอียดมาก ขาวสะอาด บรรจุในถุงพลาสติก ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรม อีกชนิดหนึ่งคือชนิดเปียก ชนิดนี้ทำขายวันต่อวัน ถ้าค้างคืนจะเหม็นบูด บางคนที่ทำขนมขายเป็นอาชีพมักจะทำแป้งข้าวเจ้าใช้เอง คือแช่ข้าวสารหรือปลายข้าง ซึ่งเลือกและล้างสะอาดแล้วในน้ำพอท่วมประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วบดให้ละเอียดด้วยโม่หินหรือเครื่องบด ถ้าแห้งที่ออกมายังหยาบจะโม่หรือบดซ้ำใหม่อีกจนกว่าจะได้แห้งที่ละเอียดกรองด้วยถุงผ้า มัดปากถุงให้แน่นแล้วทับให้สะเด็ดน้ำ จะได้แป้งข้าวเจ้าชนิดเปียก ในการทำขนมจะต้องเติมน้ำลงไปในแป้ง และนวดจนกว่าจะได้ลักษณะของแป้งตามต้องการที่ใช้ทำขนมชนิดนั้นๆ

สิริกัญญา บุญช่วย (2539: 12-13) กล่าวว่า แป้งข้าวเจ้าในชีวิตประจำวันของเรามีอยู่ 2 ชนิดคือ แป้งข้าวเจ้าเปียก และแป้งข้าวเจ้าแห้ง

สรุป แป้งข้าวเจ้าแบ่งออกเป็น2 ชนิด คือ แป้งข้าวเจ้าสดและแป้งข้าวเจ้าแห้ง ปัจจุบันแป้งข้าวเจ้าแห้งหาซื้อได้ง่ายกว่า ส่วนแป้งข้าวเจ้าสดต้องทำเอง

4.  ประโยชน์ของแป้งข้าวเจ้า

พิภพ จิรภิญโญ (2552: ออนไลน์) กล่าวว่า น้ำตาลโปรตีนต่ำจากแป้งข้าวเจ้า สามารถรักษาทารกแพ้โปรตีนจากนมทุกชนิด ต่อยอดการผลิตนมรักษาทารกแพ้โปรตีนจากนมเนื้อไก่แทนนมวัว โดยยังคงคุณค่าสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังผลิตเป็นน้ำดื่มเกลือแร่รักษาโรคท้องร่วงและเครื่องดื่มนักกีฬาได้ด้วย

วาทิต วงศ์สุรไกร (2556: 120) กล่าวว่าแป้งข้าวเจ้า (Rice flour) เป็นส่วนผสมของอาหารที่คนไทยรู้จักกันมาอย่างช้านานในปัจจุบันนี้มีการนำมาดัดแปลงและพัฒนา ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ที่มีคุณประโยชน์เช่น อุตสาหกรรม นม ยา หรือการนำไปเพื่อผลิตเป็น วัสดุสิ่งของต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ประโยชน์ของแป้งข้าวเจ้า (Rice flour) นั้นจะมีอีกหลายประเภท ที่มีความต้องการในท้องตลาด ซึ่งยังหมายถึงการนำไปผลิตเป็น นมสำหรับทารกที่แพ้นม และยังไปทำเป็นเครื่องสำอางต่างๆ อีกมากมาย

เบญจมาศ  ศิลาย้อย (2538: 11) กล่าวว่า เป็นแป้งที่ทำจากเมล็ดข้าวเจ้า ถ้าทิ้งให้เย็นจะอยู่ตัวเป็นก้อนร่วนไม่ถึงกับเหนียวหนึบ และไม่ถึงกับร่วนฟูเป็นเนื้อทราย จึงเหมาะที่จะประกอบอาหาร ที่ต้องการความอยู่ตัวร่วนไม่เหนียวหนืด เช่น ขนมขี้หนู ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมน้ำดอกไม้ ตะโก้ เส้นขนมจีน สมัยก่อนนิยมโม่กันเอง โดยล้างข้าวสารก่อน แช่ข้าว โดยใส่น้ำให้ท่วมแช่จนข้าวนุ่ม จะโม่ง่าย ในปัจจุบันนิยมบดด้วยเครื่องบดไฟฟ้าบดให้ละเอียดแล้วจึงห่อผ้าขาวบางทับน้ำทิ้งจะได้แป้งข้าวเจ้าเรียกแป้งสด

แป้งข้าวเจ้าเป็นแป้งชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการทําขนมไทย และอาหารคบเคี้ยวโดยใช้เป็นส่วนประกอบหลักในตัวผลิตภัณฑ์ ขนมหลายชนิดที่ทําจากแป้งจะมีลักษณะ หรือคุณภาพเป็นไปตามการพองตัว ความข้นใสของเม็ดแป้งเป็นสําคัญ (กล้าณรงค์  ศรีรอด และเกื้อกูล  ปิยะจอมขวัญ, 2546: 188-203)

สรุป ประโยชน์ของแป้งข้าวเจ้า คือเป็นแป้งที่ทำจากเมล็ดข้าวเจ้า ถ้าทิ้งให้เย็นจะอยู่ตัวเป็นก้อนร่วนไม่ถึงกับเหนียวหนึบ และไม่ถึงกับร่วนฟูเป็นเนื้อทราย จึงเหมาะที่จะประกอบอาหาร ซึ่งยังหมายถึงการนำไปผลิตเป็น นมสำหรับทารกที่แพ้นม และยังไปทำเป็นเครื่องสำอางต่างๆ อีกมากมาย

5.  กรรมวิธีในการผลิตแป้งข้าวเจ้า

พิมพ์เพ็ญ  พรเฉลิมพงศ์ (2552: ออนไลน์) กล่าวว่า กรรมวิธีการผลิตมี 3 วิธี คือ วิธีโม่แห้ง วิธีโม่น้ำ และวิธีผสม

1.  การผลิตแป้งข้าวด้วยการโม่แห้ง ได้จากการนำข้าวมาทำความสะอาด (cleaning) เพื่อแยกสิ่งสกปรกออก แล้วจึงนำไปบดเป็นแป้งจะมีคุณภาพต่ำ เพราะเม็ดแป้งค่อนข้างหยาบและมีสิ่งเจือปนสูง อายุการเก็บรักษาสั้น เพราะเกิดกลิ่นหืน (rancidity) ได้ง่าย เพราะมีปริมาณไขมันสูง และถูกทำลายจากแมลงได้ง่าย

2.  การผลิตแป้งข้าวด้วยวิธีการโม่น้ำเป็นวิธีการผลิตแป้งข้าวในปัจจุบัน แป้งที่ได้มีคุณภาพดี มีความละเอียดและมีสิ่งเจือปนน้อย เทคโนโลยีการผลิตแป้งโดยวิธีการโม่น้ำได้รับการพัฒนามาช้านาน การผลิตแป้งในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นแป้งข้าวเจ้าชนิดอะไมโลส (amylose) สูง

3.  การผลิตแป้งข้าววิธีผสม เป็นการโม่แป้งจากข้าวที่แช่ในน้ำและอบแห้งด้วยความร้อนก่อนโม่เป็นแป้ง แป้งชนิดนี้เป็นแป้งคุณภาพสูงและนำไปใช้ทำขนมเฉพาะอย่าง เช่น ขนมโก๋จากแป้งข้าวเหนียว

สมชาย  เทพาดิเทพพัน (2556: 58-60) ในการผลิตแป้งข้าวเจ้านั้นจะมีกรรมวิธีการผลิตอยู่ 3 แบบก็คือ การโม่น้ำหรือโม่เปียก การโม่แห้ง และการโม่แบบผสม โดยมีวิธีการผลิตดังนี้

1.  การโม่น้ำหรือโม่เปียก นำข้าวสารไปทำความสะอาดเพื่อเป็นการแยกสิ่งสกปรกออกแล้วนำเข้าเครื่องล้างข้าวอีกครั้ง หลังจากนั้นให้นำข้างไปแช่ไว้ในถังแช่ข้าว เมื่อข้างเริ่มอิ่มน้ำเต็มที่จึงนำข้าวมาโม่ที่เครื่องโม่ข้าว การโม่แป้งข้าววิธีนี้นั้นจะเป็นวิธีที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน เพราะแป้วข้าวที่ได้จากกรรมวิธีนี้นั้นจะเป็นแป้งข้าวที่มีความละเอียดสูง และมีสิ่งเจือปนอยู่ในแป้งข้าวน้อย แป้งข้าวที่ได้นั้นยังมีความละเอียดที่ค่อนข้างสูง

2.  การโม่แห้ง นำข้าวสารไปทำความสะอาดเสียก่อน เพื่อการนำเอาสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองต่างๆออกไปเพื่อทำให้ข้าวที่ต้องการจะใช้มีความสะอาดยิ่งขึ้น แล้วจึงนำข้าวที่ทำความสะอาดแล้วไปบดให้มีความละเอียด แต่แป้งที่ได้จากกรรมวิธีแบบนี้นั้น จะเป็นแป้งข้าวเจ้าที่จะมีคุณภาพต่ำที่สุด เพราะว่าเม็ดแป้งที่ได้นั้นจะค่อนข้างมีความหยาบและจะมีสิ่งเจือป่นอยู่ในแป้งข้าวที่ได้สูง การเก็บรักษานั้นจะมีระยะเวลาที่สั้น และเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย

3.  การโม่แบบผสม นำข้าวสารไปทำความสะอาดเพื่อแยกสิ่งสกปรกออก และนำไปเข้าเครื่องล้างข้าว นำข้าวไปแช่ในถังแช่ข้าว เมื่อข้าวได้ที่แล้วจึงนำข้าวไปเพื่ออบให้แห้ง หลังจากข้าวแห้งแล้วจึงค่อยนำข้าวไปโม่ การโม่ข้าวด้วยวิธีนี้นั้นแป้งที่ได้จะมีคุณภาพที่สูง และแป้งที่ได้ยังสุกแล้วอีกด้วย แป้งชนิดนี้จึงค่อนข้างนิยมนำไปทำขนมไทยต่างๆ

นิธิยา  รัตนาปนนท์ (2555: ออนไลน์) กล่าวว่า กรรมวิธีการผลิตมี 3 วิธี คือ วิธีโม่แห้งวิธีโม่น้ำและวิธีผสม การผลิตแป้งข้าวด้วยการโม่แห้ง ได้จากการนำข้าวมาทำความสะอาด (cleaning) เพื่อแยกสิ่งสกปรกออก แล้วจึงนำไปบด เป็นแป้งจะมีคุณภาพต่ำ เพราะเม็ดแป้งค่อนข้างหยาบและมีสิ่งเจือปนสูง อายุการเก็บรักษาสั้น เพราะเกิดกลิ่นหืน (rancidity) ได้ง่ายเพราะมีปริมาณไขมันสูง และถูกทำลายจากแมลงได้ง่าย  การผลิตแป้งข้าวด้วยวิธีการโม่น้ำเป็นวิธีการผลิตแป้งข้าวในปัจจุบัน แป้งมีคุณภาพดี มีความละเอียดและสิ่งเจือปนน้อย เทคโนโลยีการผลิตแป้งโดยวิธีการโม่น้ำได้รับการพัฒนามาช้านาน การผลิตแป้งในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นแป้งข้าวเจ้าชนิดอะไมโลส (amylose) สูง   การผลิตแป้งข้าววิธีผสม เป็นการโม่แป้งจากข้าวที่แช่น้ำและอบแห้งด้วยความร้อนก่อนโม่เป็นแป้ง แป้งชนิดนี้เป็นแป้งคุณภาพสูงและนำไปใช้ทำขนมเฉพาะอย่าง เช่น ขนมโก๋จากแป้งข้าวเหนียว

วิไล  ปาละวิสุทธิ์ (2549: ออนไลน์) แป้งข้าวเจ้ามีกรรมวิธีการผลิต 3 วิธี คือ วิธีโม่แห้ง (Dry Milling) วิธีโม่น้ำหรือโม่เปียก (Wet Milling) และวิธีผสม (Wet and Dry Milling) แป้งที่ได้จากการโม่แห้งมีคุณภาพต่ำ เพราะผงแป้งค่อนข้างหยาบและมีสิ่งเจือปนสูง อายุการเก็บรักษาสั้น เพราะเกิดกลิ่นหื่นและถูกทำลายจากแมลงได้ง่าย สำหรับวิธีการโม่น้ำหรือโม่เปียก เป็นวิธีการผลิตแป้งที่แพร่หลายในปัจจุบัน แป้งมีคุณภาพดี มีความละเอียดและสิ่งเจือปนน้อย พันธุ์ข้าวไทยดั้งเดิม ส่วนใหญ่มีอมิโลสสูง ดังนั้นแป้งที่ผลิตจึงเป็นแป้งข้าวที่มีอมิโลสสูง การผลิตแป้งข้าววิธีผสมแป้งชนิดนี้เป็นแป้งคุณภาพสูงและสุกแล้ว นิยมนำไปทำขนมเฉพาะอย่างเช่น ขนมโก๋จากแป้งข้าวเหนียว

สรุป กรรมวิธีในการผลิตแป้งข้าวเจ้ามีกรรมวิธีการผลิต 3 วิธี

1.  การโม่น้ำหรือโม่เปียก แป้งมีคุณภาพดี เป็นวิธีการผลิตแป้งที่แพร่หลายในปัจจุบัน

2.  การโม่แห้ง แป้งจะมีคุณภาพต่ำเพราะผงแป้งค่อนข้างหยาบและมีสิ่งเจือปนสูง

3.  การโม่แบบผสม จะได้เป็นแป้งคุณภาพสูงและสุกแล้ว ชนิดนี้นิยมนำไปทำขนมไทยต่างๆ

 

รายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

รายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยในประเทศไทย

ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ (2555: 91-93) ได้ศึกษาเรื่อง การวิจัยชอล์กจากแป้งมันสำปะหลัง พบว่า ชอล์กที่ผลิตจากแป้งมันสำปะหลังจะมีเนื้อชอล์กที่เนียน จับตัวได้เป็นแท่ง แต่ค่อนข้างอ่อนนุ่ม เมื่อเขียนสีออกดีคุณภาพเทียบเท่ากับการใช้ปูนปลาสเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้แป้งชนิดอื่นๆทดแทนได้

ประพนธ์  วิไลรัตน์ (2554: 100-102) ได้ศึกษาเรื่อง ประสิทธิภาพของแป้งข้าวเจ้า พบว่า แป้งข้าวเจ้ามีลักษณะมีสีขาว สากมือ เป็นผงหยาบกว่าแป้งสาลี ถ้าทิ้งให้เย็นจะอยู่ตัวเป็นก้อนร่วนไม่ถึงกับเหนียวหนึบ และไม่ถึงกับร่วนฟูเป็นเนื้อทราย น้ำตาลโปรตีนต่ำจากแป้งข้าวเจ้า สามารถรักษาทารกแพ้โปรตีนจากนมทุกชนิด โดยยังคงคุณค่าสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังผลิตเป็นน้ำดื่มเกลือแร่รักษาโรคท้องร่วงและเครื่องดื่มนักกีฬาได้

อารันต์  พัฒโนชัย (2552: 55-56) ได้ศึกษาเรื่อง คุณประโยชน์-โทษ จากชอล์กใกล้ตัว พบว่า จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยแล้วในตัวชอล์กนั้นมีโทษที่มากกว่าประโยชน์อยู่ ซึ่งโทษส่วนมากนั้นมากจากส่วนประกอบเกือบ100% ที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบหายใจ ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนส่วนประกอบในชอล์กได้จะเป็นผลดีมาก

สรุป แป้งข้าวเจ้ามีประโยชน์ มีสิทธิภาพพอที่จะทำเป็นชอล์กไร้ฝุ่นที่มีคุณภาพ และดีกว่าชอล์กแบบเดิมที่โทษต่อสุขภาพมาก

รายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยในต่างประเทศ

อลิสซาเบธ  มิลส์ (2548: 74-75) ได้ศึกษาเรื่อง แป้งกับชีวิต พบว่า แป้งอยู่กับเราทุกที่ถ้าสังเกตุดีๆ ทั้งในอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นแป้งเกือบทุกชนิด ไม่แต่ของเครื่องใช้ เครื่องสำอางก็มีแป้งประสมอยู่ เพราะแป้งนั้นเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาง่าย มีประโยชน์ต่างๆมากมาย

แมรี่  เฮลเมนสไทน์ (2553: 109-110) ได้ศึกษาเรื่อง ชอล์กไร้ฝุ่น พบว่า ชอล์กที่ใช้กันในปัจจุบันนั้นมีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายมากเพราะมีส่วนประสมของสารที่ไม่ปลอดภัยต่อร่ายกายเมื่อสูดดมเข้าไปหรือสัมผัส จึงทำให้เกิดชอล์กไร้ฝุ่นขึ้น ส่วนมากมักมาจากแป้งชนิดต่างๆเพราะมีความเป็นธรรมชาติ ไม่ก่อการแพ้เมื่อสูดดมเข้าไปก้อไม่เป็นอันตราย

รีเบคกา บอยล์ (2551: 87-89) ได้ศึกษาเรื่อง ต้นกำเนิดชอล์ก พบว่า ชอล์กมีประวัติยาวนานมากว่า 500 ปีแล้ว ในยุคแรกๆ จะนิยมเขียนเพียง 3 สีคือ สีดำ สีแดง และ สีขาว เริ่มมีใช้ในห้องเรียนนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่การศึกษาเริ่มแพร่หลายชอล์กผลิตจากฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง

สรุป ผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยในต่างประเทศแป้งเป็นส่วนประกอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเพราะมาจากธรรมชาติ ส่วนชอล์นั้นมีมายาวนานแล้ว แต่ส่วนประสมนั้นไม่ปลอกภัยต่อร่างกายเมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไป

กรอบแนวคิดในการศึกษา

จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องข้างต้นแล้ว ผู้ศึกษาได้กำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาเรื่องการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าไว้ดังนี้

1

 ภาพที่ 2.1: กรอบแนวคิดในการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการศึกษา

ในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า โดยใช้วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นตามขั้นตอนดังนี้

1.  การเตรียมวัสดุและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา

2.  การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ

3.  การทดลอง

4.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

5.  การวิเคราะห์ข้อมูล

การเตรียมวัสดุและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา

1.  วัสดุ เป็นสิ่งของที่ใช้แล้วหมดไปสิ้นไป ไม่คงสภาพเดิม สิ่งของชนิดนี้อาจจะเรียกว่า “วัสดุสิ้นเปลือง” ก็ได้ ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ในการทดลองครั้งนี้ประกอบด้วย

1.1  แป้งข้าวเจ้า ตรา New Grade    จำนวน 1 ถุง

1.2  สีฝุ่น Tempera ตรา Lefranc&Bourgeois    จำนวน 1 กล่อง

1.3  น้ำ    จำนวน 0.5 ลิตร

2.  เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นสิ่งของที่ใช้แล้วไม่หมดไป ไม่สิ้นไป ยังคงสภาพเดิม สิ่งของชนิดนี้อาจจะเรียกว่า “วัสดุคงทน” ก็ได้ ซึ่งเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทดลองครั้งนี้ประกอบด้วย

2.1  หลอดชานมไข่มุก   จำนวน 3 หลอด

2.2  ถ้วยผสม  จำนวน 1 ถ้วย

2.3  ช้อน   จำนวน 1 คัน

การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ

การสร้างและหาประสิทธิเครื่องมือ  ผู้ศึกษาได้ดำเนินการ  ดังนี้

1.  ตั้งประเด็นข้อคำถาม นำคุณสมบัติและประโยชน์ของแป้งข้าวเจ้า รวมทั้งรูปทรงของชอล์กมาวิเคราะห์ตั้งประเด็นคำถามสำหรับใช้เป็นเครื่องมือวัดคุณภาพของชอล์กที่ผลิตขึ้น

2.  ประเมินความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม นำข้อคำถามที่จะสร้างเป็นแบบวิเคราะห์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเพื่อหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC)

3.  ประเมินค่า 5 ระดับ นำประเด็นข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาทำการตั้งเป็นข้อคำถามที่ใช้ในแบบประเมินคุณภาพกระถางที่เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับสำหรับผู้ศึกษาทุกคนในกลุ่มประเมิน

4.  วิเคราะห์ข้อมูล นำผลที่ได้ทำการหาค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทำการแปลผลคุณภาพของกระถางที่ประเมินได้จากประเด็นข้อคำถาม

5.  การบันทึกผลจากการนำแบบประเมินไปใช้ ผู้ศึกษาได้ทำการจดบันทึกผลที่ได้จาก

การนำแบบประเมินไปใช้ ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้จะรวบรวมไว้ใช้สำหรับยืนยันว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่

การทดลอง

ในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการทดลองตามขั้นตอนการทดลอง ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิบัติการแสวงหาเพื่อค้นหาคำตอบ และตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการ 3 กระบวนการ คือ

1.  การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนการทดลอง ก่อนจะลงมือปฏิบัติจริง โดยให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรที่มีผลต่อการทดลอง ได้แก่ตัวแปรทั้ง 3 ชนิด คือ

1.1  ตัวแปรต้น (Manipulated Variable) ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลการทดลอง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า น้ำ และสีฝุ่น Tempera

1ภาพที่ 3.1: ตัวแปรต้น ประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า น้ำ และสีฝุ่น Tempera

1.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึงผลที่เกิดจากการทดลอง ซึ่งต้องใช้วิธีการสังเกตหรือวัดผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ และจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรต้น ได้แก่ ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

1ภาพที่ 3.2: ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

1.3  ตัวแปรควบคุม (Control Variable) เป็นปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลอง และต้องควบคุมให้เหมือนกันทุกชุดการทดลอง เพื่อป้องกันไม่ให้ผลการทดลองเกิดความคลาดเคลื่อน ได้แก่ ปริมาณของตัวแปรต้น ระยะเวลาและอุณหภูมิในการทดลอง

2.  การปฏิบัติการทดลอง ในการลงมือปฏิบัติการทดลองจริง ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อให้แน่ใจว่า ได้ผลเช่นนั้นจริง อันจะเป็น การตรวจสอบสมมติฐานที่วางไว้ โดยต้องมีการควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรควบคุมที่มีผลต่อการทดลองอย่างเคร่งครัด โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

2.1  ขั้นตอนที่ 1  การจัดหาและเตรียมวัสดุ

     1

ภาพที่ 3.3: วัสดุที่ใช้ในการทดลอง

2.2  ขั้นตอนที่ 2  ใส่สีฝุ่น Tempera ตรา Lefranc&Bourgeois ลงไปในแป้งข้าวเจ้าตรา New Grade 200 ในปริมาณ 1:4 (สี Tempera:แป้งข้าวเจ้า) แล้วใช้ช้อนคนแป้งข้าวเจ้ากับสีให้เข้ากัน

1

ภาพที่ 3.4:ฝุ่น Tempera ตรา Lefranc&Bourgeois       ภาพที่ 3.5:แป้งข้าวเจ้าตรา New Grade

  1

             ภาพที่ 3.6: การผสมแป้งข้าวเจ้ากับสี Tempera

2.3  ขั้นตอนที่ 3 นำน้ำเปล่า 0.5 ลิตรเทใส่ลงในถ้วยผสมจากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน จนแป้งจับตัวเป็นก้อน

  1

ภาพที่ 3.7: การนำน้ำเปล่า 0.5 ลิตรเทใส่ลงในถ้วยผสม

        1

ภาพที่ 3.8: การผสมให้เข้ากันจนเป็นก้อน

2.4  ขั้นตอนที่ 4  นำแป้งที่ผสมไว้ ใส่ลงในหลอดชานมไข่มุกซึ่งใช้เป็นแม่พิมพ์ จากนั้นให้นำไปตากแดดประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้ชอล์กแป้งข้าวเจ้าแข็งตัว เมื่อชอล์กแห้งสนิทแล้ว จึงนำชอล์กออกจากหลอดชานมไข่มุก

1

ภาพที่ 3.9: การนำแป้งที่ผสมไว้ใส่ในหลอดชานม

2.5  ขั้นตอนที่ 5  พิสูจน์ประสิทธิภาพของชอล์กแต่ละแท่ง โดยการนำชอล์กไปใช้งาน แล้วสังเกตว่าฝุ่นของชอล์กทำจากแป้งข้าวเจ้าลดน้อยลง แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาข้อยุติว่าชอล์กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าจะมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการนำไปใช้เป็นชอล์กต้นแบบเพื่อการนำไปใช้จริงได้

 1

ภาพที่ 3.10: ผลการทดลองว่าเขียนได้จริง

3.  การบันทึกผลการทดลอง ผู้ศึกษาได้ทำการจดบันทึกผลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้จะรวบรวมไว้ใช้สำหรับยืนยันว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้านจึงรวบรวม ข้อมูลทั้ง 2 ประเภท

1.  ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากเอกสารต่าง ๆ และรายงานการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมข้อมูลจากห้องสมุด และช่องทางเทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกรอบความคิดในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ และอ้างอิงในการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า

2.  ข้อมูลปฐมภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลจากทดลองผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

การวิเคราะห์ข้อมูล

1.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมมูล ข้อมูลที่ได้จากการทดลองข้างต้นนี้ ผู้ศึกษาได้นำไปทำการวิเคราะห์โดยนำผลการทดลองที่ได้ทั้ง 3 ครั้งไปวิเคราะห์ผลโดยใช้ตารางในบทที่ 4 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ซึ่งผู้ศึกษาจะใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ดังนี้

1.1  ค่าเฉลี่ยเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Index of item objective congruence: IOC) คำนวณโดยใช้สูตรดังนี้ (ธีรชาติ  ธรรมวงศ์, 2551: ออนไลน์)

1

1.2  ค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ (Arithmetic Mean) คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545: 106)

1

1.3  ค่าร้อยละ (Percentage) คำนวณโดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม  ศรีสะอาด, 2545: 104)

1

1.4  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) คำนวณโดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม  ศรีสะอาด, 2545: 106; ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2550: 60)

1

2.  เกณฑ์การประเมิน ข้อมูลที่ได้จากการหาประสิทธิภาพ และประเด็นข้อคำถามผู้ศึกษาได้นำไปทำการวิเคราะห์โดยการใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในส่วนของสถิติ ซึ่งผู้ศึกษาจะใช้เกณฑ์การประเมินดังนี้

2.1  ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Index of item objective congruence: IOC) มีเกณฑ์การประเมินดังนี้ (ธีรชาติ  ธรรมวงศ์, 2551: ออนไลน์)

2.1.1  เกณฑ์การให้คะแนน

+1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์

0  ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์

-1  ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

2.1.2  เกณฑ์การประเมิน

1.  ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 – 1.00 มีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้

2.  ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ต้องปรับปรุง ยังใช้ไม่ได้

2.2  มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีเกณฑ์การประเมินดังนี้

2.2.1  เกณฑ์การใช้คะแนน

ให้คะแนน 5 หมายถึง ดีมาก

ให้คะแนน 4 หมายถึง ดี

ให้คะแนน 3 หมายถึง ค่อนข้างดี

ให้คะแนน 2 หมายถึง พอใช้

ให้คะแนน 1 หมายถึง ปรับปรุง

2.2.2  เกณฑ์การประเมิน

4.51 – 5.00 หมายถึง มากที่สุด

3.51 – 4.50 หมายถึง มาก

2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง

1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย

1.00 – 1.50 หมายถึง น้อยที่สุด

บทที่ 4

บทที่ 4

การวิเคราะห์ข้อมูล

                ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลองครั้งนี้ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1.  ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม

2.  ตอนที่ 2 วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์

3.  ตอนที่ 3 วิเคราะห์หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน

ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม

การวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรหาความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับแบบทดสอบ ของธีรชาติ  ธรรมวงศ์ ดังปรากฏในตารางที่ 4.1 ต่อไปนี้

ตารางที่ 4.1 ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

IOC

+1

0

-1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

3

1

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

3

1

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

2

1

0.73

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

2

1

0.73

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

3

1

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

3

1

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

3

1

  8.  ชอล์กกแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

2

1

0.73

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

2

1

0.73

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

3

1

จากตาราง พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านได้ทำการประเมินประเด็นข้อคำถามเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง (IOC) โดยข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ มีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้ (0.5-1.0) จำนวน 10 ข้อ โดยมีข้อคำถามที่มีข้อคำถามที่มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.73 จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1 จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้ดี, ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้, สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้,

ตอนที่ 2 วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์

การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ โดยใช้สูตรทางสถิติพื้นฐาน ของบุญชม ศรีสะอาด ดังปรากฏในตารางที่  4.2-4.4 ต่อไปนี้

ตารางที่ 4.2 ค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์  (ทดลองครั้งที่ 1)

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

5

4

3

2

1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

3

4

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

3

3

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

2

1

1.2

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

1

2

3.5

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

3

1

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

1

1

1

1.8

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

2

1

3.4

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

1

2

1.2

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

2

1

1.3

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

1

1

1

3

จากตาราง พบว่า ผู้ศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำการประเมินข้อคำถามจากการทดลองครั้งที่ 1 สรุปได้ดังนี้ ข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ มาก จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้, ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง, สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้, อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ, อยู่ในเกณฑ์ น้อย จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ และอยู่ในเกณฑ์น้อยที่สุด 4 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกัน เป็นแท่ง, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้

      ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์  (ทดลองครั้งที่ 2)

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

5

4

3

2

1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

2

1

3.7

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

1

2

4.2

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

2

1

3.1

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

3

4

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

1

2

1.2

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

2

1

3.1

  7.  ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

1

1

1

4

  8.  ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

 1

2

1.7

  9.  ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

 3

3

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

1

2

3.4

จากตาราง พบว่า ผู้ศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำการประเมินข้อคำถามจากการทดลองครั้งที่ 1 สรุปได้ดังนี้ ข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ มาก จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้, ชอล์กไร้ฝุ่นจกแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง, สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้, และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, อยู่ในเกณฑ์ น้อย จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้, อยู่ในเกณฑ์ น้อยที่สุด จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้

           ตารางที่ 4.4 ค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์  (ทดลองครั้งที่ 3)

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

5

4

3

2

1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

2

1

4

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

3

4.9

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

1

1

1

4

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

1

2

4.5

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

2

1

3

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

3

4

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

1

2

4.3

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

1

2

4.5

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

2

1

4

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

3

4.9

              จากตาราง พบว่า ผู้ศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำการประเมินข้อคำถามจากการทดลองครั้งที่ 1 สรุปได้ดังนี้ ข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, อยู่ในเกณฑ์ มาก จำนวน 7 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง, สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้, อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้

ตารางที่ 4.5 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ (การทดลองครั้งที่ 1-3)

ประเด็นข้อคำถาม

ครั้งที่

1

2

3

สรุปผล
  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

4

3.7

4

3

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

3

4.2

4.9

3

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

1.2

3.1

4

3

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

3.5

4

4.5

3

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

1

1.2

3

3

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

1.8

3.1

4

3

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

3.4

4

4.3

3

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

1.2

1.7

4.5

3

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

1.3

3

4

3

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

3

3.4

4.9

3

จากตาราง พบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของการทดลองทั้ง 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต   สูงที่สุดในทุกข้อคำถาม โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด (4.90) จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, อยู่ในเกณฑ์ มาก (4.00-4.50) จำนวน 7 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง, สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้, อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง (3.00) จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้

 ตอนที่ 3 วิเคราะห์หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การวิเคราะห์หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน โดยใช้สูตรทางสถิติพื้นฐาน ของบุญชม  ศรีสะอาดและชูศรี  วงศ์รัตนะ ดังปรากฏในตารางที่ 4.5-4.7 ต่อไปนี้

ตารางที่ 4.6 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (ทดลองครั้งที่ 1)

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

S.D.

5

4

3

2

1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

3

0

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

3

0

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

 1

2

1.745

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

2

1

0.821

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

3

0

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

1

1

1

0.821

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

2

1

1

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

2

1

1.745

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

2

1

0.821
10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

1

2

1

จากตาราง พบว่า ผู้ศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำการประเมินหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของ   ข้อคำถามที่ได้มาจากการทดลองครั้งที่ 1 สามารถสรุปผลการประเมินค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานได้ดังนี้ ไม่มีค่าเบี่ยงเบน จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้, ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้, มีค่าเบี่ยงเบน 0.821 จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้,  มีค่าเบี่ยงเบน 1.745 จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ และไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่าย, มีค่าเบี่ยงเบน 1 จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด

ตารางที่ 4.7 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (ทดลองครั้งที่ 2)

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

S.D.

5

4

3

2

1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

2

1

0.821

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

2

1

1.745

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

1

2

0.613

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

3

0

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

1

2

1.745

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

2

1

1

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

1

1

1

1.312

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

2

1

1.424

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

3

0

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

2

1

0.821

จากตาราง พบว่า ผู้ศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำการประเมินหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของ   ข้อคำถามที่ได้มาจากการทดลองครั้งที่ 2 สามารถสรุปผลการประเมินค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานได้ดังนี้ ไม่มีค่าเบี่ยงเบน จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้, มีค่าเบี่ยงเบน 0.821 จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้ และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, มีค่าเบี่ยงเบน 0.613 จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง, มีค่าเบี่ยงเบน 1.312 จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ, มีค่าเบี่ยงเบน 1.424 จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้, มีค่าเบี่ยงเบน 1.745 จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้, มีค่าเบี่ยงเบน 1 จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ตารางที่ 4.8 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (ทดลองครั้งที่ 3)

ประเด็นข้อคำถาม

คะแนน

S.D.

5

4

3

2

1

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

1

2

1.424

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

3

0

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

1

1

1

1.341

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

2

1

1.745

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

1

2

0.613

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

3

0

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

2

1

1.745

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

2

1

1.745

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

1

2

1.424

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

3

0

จากตาราง พบว่า ผู้ศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำการประเมินหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของ   ข้อคำถามที่ได้มาจากการทดลองครั้งที่ 3 สามารถสรุปผลการประเมินค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานได้ดังนี้ ไม่มีค่าเบี่ยงเบน จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด, มีค่าเบี่ยงเบน 0.618 จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้, มีค่าเบี่ยงเบน 1.341 จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่ง มีค่าเบี่ยงเบน 1.424 จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้ มีค่าเบี่ยงเบน 1.745 จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้, ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้

ตารางที่ 4.9 เปรียบเทียบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (การทดลองครั้งที่ 1-3)

ประเด็นข้อคำถาม

S.D.  ครั้งที่

สรุปผล

1

2

3

  1.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถใช้เขียนได้หรือไม่

0

0.821

1.424

1

  2.  ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลงหรือไม่

0

1.745

0

1,3

  3.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าจับตัวกันเป็นแท่งหรือไม่

1.745

0.618

1.341

2

  4.  สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้หรือไม่

0.821

0

1.745

2

  5.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถนำไปใช้เขียนทดแทนวัสดุเดิมได้หรือไม่

0

1.745

0.618

1

  6.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

0.821

1

0

3

  7.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือไม่

1

1.341

1.745

1

  8.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

1.745

1.424

1.745

2

  9.  ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้หรือไม่

0.821

0

1.424

2

10.  สีที่นำมาผสมสามารถเขียนติดหรือไม่

1

0.821

0

3

จากตาราง พบว่า ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการทดลองทั้ง 3 ครั้ง โดยการทดลองครั้งที่ 1 ปรากฎข้อคำถามที่มีค่าเบี่ยงเบนน้อยที่สุด จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ชอล์กแป้งเจ้ามีฝุ่นลดน้อยลง,ชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้และสีที่นำมาผสมสามารถเขียนติด การทดลองครั้งที่ 2 ปรากฏข้อคำถามที่มีค่าเบี่ยงเบนน้อยที่สุด จำนวน 2 ข้อ ได้แก่สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้ การทดลองครั้งที่ 2 ปรากฎข้อคำถามที่มีค่าเบี่ยงเบนน้อยที่สุด จำนวน 2 ข้อ สามารถนำชอล์กแป้งข้าวเจ้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำการจำหน่ายได้ และชอล์กแป้งข้าวเจ้าสามารถลดการระคายเคืองผิวหนังได้ และพบว่าชอล์กแป้งข้าวเจ้า ผู้ศึกษาผลิตขึ้นครั้งที่ 3 เป็นชอล์กแป้งข้าวเจ้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า

บทที่ 5

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

1.  วัตถุประสงค์ของการศึกษา ในการศึกษา เรื่อง การผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

พบว่า เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์สำหรับบุคคลทั่วไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับชอล์ก และอันตรายจากฝุ่นของชอล์ก เพื่อลดอัตราการเกิดโรคจากฝุ่นชอล์ก เช่น โรคภุมิแพ้ โรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น และผลิตชอล์ก โดยนำส่วนผสมอื่นมาทดแทนเพื่อลดการเกิดโรค ผู้ศึกษาจึงเลือกแป้งข้าวเจ้ามาแทนส่วนผสมเดิม คือปูนปลาสเตอร์ ซึ่งแป้งข้าวเจ้าผลิตมาจากธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายและไม่ระคายเคืองต่อระบบหายใจ ทั้งยังช่วยลดการเกิดภูมิแพ้มาเป็นส่วนผสมในการผลิตชอล์กไร้ฝุ่น

2.  ผลของการศึกษา จากการศึกษา เรื่อง การผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า

พบว่า เมื่อนำแป้งข้าวเจ้ามาเป็นส่วนผสมทดแทนการใช้ปูนปลาสเตอร์ในการผลิตชอล์กไร้ฝุ่น พบว่าทำให้ชอล์กนั้นเกิดฝุ่นน้อยลงเมื่อใช้งานจริง และสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้มากขึ้น

เมื่อทดลองกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ไม่ระคายเคืองผิวของผู้ใช้และไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองระบบการหายใจของกลุ่มตัวอย่าง

อภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษาวิจัยซึ่งเกี่ยวกับการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า คณะผู้วิจัยได้ค้นพบว่า ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าไม่ก่อให้เกิดฝุ่นกระจายเมื่อใช้งาน มีปริมาณฝุ่นน้อยกว่าชอล์กทั่วไปที่ทำมาจากปูนปลาสเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นมากกว่า และลดอาการภูมิแพ้และระคายเคืองต่อผิวหนังหลังการใช้งาน ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะแป้งข้าวเจ้ามีสารประกอบที่มีคุณสมบัติสามารถลดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ และอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของดาริกา วสุนธรากุล (2556: ออนไลน์) ที่ได้กล่าวในเรื่องคุณสมบัติของแป้งข้าวเจ้า

ข้อเสนอแนะ

1.  ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้

จากผลการศึกษาหรือองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้ หากจะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่ประสงค์จะนำผลการศึกษานำไปใช้ควรที่จะศึกษาเนื้อหาการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า จากเอกสารนี้อย่างละเอียด โดยทางคณะผู้จัดทำหวังว่า ผู้ที่มาศึกษาจะได้ชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า ทราบวิธีการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า และทำให้ได้แนวทางในการผลิตชอล์กไร้ฝุ่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์สาหรับบุคคลทั่วไป

2.  ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้

จากข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาเห็นว่า ในโอกาสต่อไปควรจะมีการทำการศึกษาเกี่ยวกับหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวเนื่องกับผลการศึกษานี้ในหัวข้อเรื่องต่างๆ เช่น

1.  ชอล์กไร้ฝุ่นทำจากแป้งชนิดต่างๆ

2.  แป้งต่างๆที่มาทำชอล์กไร้ฝุ่นมีประสิทธิภาพที่กว่าแป้งข้าวเจ้า

3.  หาส่วนประสมที่จะทำให้ประสิทธิชอล์กไร้ฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้าดีขึ้น